วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

เซลล์ต้นกำเนิด

การทำเด็กหลอดแก้ว

พืชจีเอ็มโอ อันตรายจริงหรือ

ความรู้ใหม่กับการโคลนนิ่ง



ความรู้จากการค้นพบใหม่นี้ มีหลายประการได้แก่

- เป็นครั้งแรกที่สามารถทำให้เกิดการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) ได้ในสัตว์ชั้นสูงเช่นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งแต่เดิมมา การสืบพันธุ์จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยสารพันธุกรรมในโครโมโซม ครึ่งหนึ่งมาจาก sperm ของพ่อ (n) และอีกครึ่งหนึ่ง มาจากไข่ของแม่(n) แต่การโคลนนิ่งที่เกิดขึ้นนี้ สารพันธุกรรมในโครโมโซมทั้งหมด (2n) มาจากต้นกำเนิดเดียวกัน คือ เซลล์เต้านมเซลเดียว

- เป็นครั้งแรกที่พบว่า เซลล์ที่มีการจำแนกชนิด (differentiation) แล้ว ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะ และไม่ทำหน้าที่อื่นอีก เช่น เซลล์เต้านม ซึ่งทำหน้าที่ผลิตน้ำนมแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ทำหน้าที่อื่น สามารถย้อนกลับไปเป็นเซลล์ที่ไม่จำแนกชนิด (undifferentiated cell) เพื่อสามารถจำแนกชนิดได้อีกครั้ง กลายเป็นเซลล์สำหรับอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ, สมอง, ผิวหนัง, เลือด, อวัยวะต่าง ๆ

- ทำให้เราได้ทราบว่า มีปัจจัยบางอย่าง (ซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร) ซึ่งน่าจะอยู่ในไข่ ส่วน cytoplasm สามารถทำให้ยีนหรือสารพันธุกรรม ซึ่งถูกหยุดการทำงานไปแล้ว เนื่องจากการจำแนกชนิด ให้กลับมาทำงานได้อีก ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า เซลล์ทุกชนิดในร่างกายของเรา มีสารพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว, เซลล์ตับอ่อน, แม้กระทั่งเซลล์ประสาท แต่การที่เซลล์เม็ดเลือดขาวสามารถจับกินเชื้อโรคได้ แต่สร้างฮอร์โมนอินสุลินไม่ได้ ในขณะที่เซลล์ตับอ่อน สามารถสร้างฮอร์โมนอินสุลินได้ แต่จับกินเชื้อโรคไม่ได้ เนื่องจากเซลล์เหล่านี้ มียีนบางตัวที่ถูกหยุดการทำงานไปแล้ว และบางตัวยังคงทำงานอยู่ไม่เหมือนกันในแต่ละชนิดของเซลล์


เราได้ประโยชน์จากการโคลน?

ประโยชน์ที่ได้รับจากโคลนนิ่ง ได้แก่

- ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจขบวนการทำงานของยีน และการจำแนกชนิดของเซลล์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการแพทย์ เช่น ในอนาคตเมื่อเราทราบปัจจัยที่ทำหน้าที่ ปิด หรือเปิด การทำงานของยีน จะสามารถนำมารักษาโรคได้ เช่น ผู้ป่วยสมองตายจากอัมพาต ในอนาคตอาจสามารถกระตุ้นให้เซลล์สมอง แบ่งตัวทดแทนเซลล์ที่ตายไปได้ หรือผู้ป่วยที่ไตวาย สามารถกระตุ้นการทำงานและแบ่งตัวเซลล์ไตที่เหลืออยู่ให้ทำหน้าที่ทดแทนได้

- มีประโยชน์ในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และพืชหายาก และใกล้สูญพันธุ์ ให้แพร่ขยายจำนวนขึ้นได้รวดเร็วกว่าการผสมกันตามธรรมชาติ

- คู่สมรสที่ไม่มีโอกาสให้กำเนิดบุตรด้วยวิธีอื่น อาจมีโอกาสได้บุตรมากขึ้น

- ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ อาจได้อวัยวะที่เข้ากันได้ ลดความเสี่ยงต่อการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน


ข้อเสียของการโคลนนิ่ง

ข้อระมัดระวัง และประเด็นสำคัญของโคลนนิ่ง ที่สำคัญที่สุดในด้านจริยธรรม ทำให้เกิดความหวาดกลัวจนประธานาธิบดี บิล คลินตัน สั่งระงับการค้นคว้าวิจัยเรื่องนี้ไว้ก่อน ได้แก่

- การทำโคลนนิ่งทำให้เกิดการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีในการเป็นต้นแบบ ซึ่งปัญหาอยู่ที่ว่า เราใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าลักษณะอย่างใด ที่เรียกว่าดี อย่างไรไม่ดี เนื่องจากลักษณะอย่างหนึ่ง ในสถานการณ์หรือสภาวะหนึ่ง อาจเป็นสิ่งดี แต่อีกสถานการณ์หนึ่งอาจจะไม่ดีก็ได้ เช่น ผิวดำ กับ ผิวขาว ดีหรือไม่, กรุ๊ปเลือดอะไร ฯลฯ

- ความเหมือนกัน ทำให้สูญเสียความมีเอกลักษณ์ และความหลากหลาย อันเป็นต้นกำเนิดของวิวัฒนาการ ถ้าทุกคนทุกชีวิต เหมือนกันหมด จะไม่มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีขึ้น

- การทำโคลนนิ่งในมนุษย์ด้วยจุดประสงค์อันใดก็ตาม ก่อให้เกิดปัญหาจริยธรรมตามมามากมาย เช่น การทำโคลนนิ่งเพื่อต้องการอวัยวะมาเปลี่ยน แล้วจะถือว่าสิ่งที่โคลนขึ้นมาเป็นมนุษย์ด้วยหรือไม่ หรือเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตธรรมดา, ปัญหาทางกฎหมาย ใครเป็นตัวจริง ตัวปลอม, การพิสูจน์บุตร, การค้นหาผู้กระทำผิดในคดีต่าง ๆ, การจำแนกคนโดยใช้การตรวจ DNA เป็นต้น โดยสรุปแล้ว เห็นได้ว่าการทำโคลนนิ่งเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง แต่มีประเด็นตามมาอีกมากมาย ทั้งในทางบวกและลบ แต่ควรตระหนักไว้ว่า "การค้นพบความจริงทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์เสมอ แต่จะเกิดโทษหรือไม่ขึ้นกับว่ามนุษย์นำความรู้นี้ ไปประยุกต์ใช้อย่างไร"







ที่มา : http://www.panyathai.or.th/

การโคลนนิ่ง (CLONING)



   


    โคลนนิ่ง  เป็นกระบวนการทำให้สัตว์ตัวใหม่ขึ้นมาโดยไม่ต้องอาศัยการรวมตัวกันของไข่และสเปิร์ม  มีวิธีการทำโดยการนำเอาเซลล์ไข่ของสัตว์ที่จะโคลนนิ่งมา  นำเอานิวเคลียสของเซลล์ไข่นั้นออกไป  แล้วนำนิวเคลียสจากเซลล์ของสัตว์ที่ต้องการเรียกว่า "เซลล์ต้นแบบ"  มาถ่ายโอนลงไปในเซลล์ไข่นั้นแทนทั้งเซลล์ไข่และเซลล์ต้นแบบต้องมาจากสัตว์ชนิดเดียวกัน

     เซลล์ต้นแบบ เป็นเซลล์ที่ได้มาจากสัตว์ที่เราต้องการขยายพันธุ์ให้มากขึ้น เรียกว่า "สัตว์ต้นแบบ" ซึ่งเซลล์ต้นแบบนี้อาจจะมาจากอวัยวะส่วนไหนก็ได้  แต่ในทางปฏิบัติเชื่อกันว่าเซลล์จากอวัยวะแต่ละแห่งจะมีความเหมาะสมสำหรับการทำโคลนนิ่งไม่เท่ากัน

       การทำโคลนนิ่งสัตว์นั้นเริ่มต้นโดยนักชีววิทยาชาวอเมริกัน 2 คน คือ R.W. Briggs  และ  T.J. King แห่งสถาบันวิจัยมะเร็งในฟิลาเดลเฟีย  ทดลองทำโคลนนิ่งกบ  ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 นักวิทยาศาสตร์ชาวสก๊อตแลนด์  ชื่อ Jane  Wilmut  "ได้ทำการโคลนนิ่งแกะโดยใช้เซลล์จากเต้านมของแกะที่โตแล้วเป็นเซลล์ต้นแบบ ได้แกะที่มีชื่อว่า  "ดอลลี"  ซึ่งแกะดอลลีนี้สามารถตั้งท้องและให้กำเนิดลูกได้เช่นเดียวกับสัตว์ทั่วไป ( ศึกษาได้จากแผนภาพข้างล่าง)

     โคลนนิ่งเป็นอีกกรรมวิธีหนึ่งที่ใช้การขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต  และมีข้อได้เปรียบกว่าการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ  กล่าวคือ
การโคลนนิ่งจะให้ลูกหลานได้คราวละมากๆ และลูกหลานเหล่านั้นจะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันและเหมือนกับตัวต้นแบบ

      ส่วนการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศนั้น  ลูกที่ได้จะมีลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างกันไปและมีความแปรผันแบบกลุ่ม  เราไม่สามารถกำหนดได้เลยว่าลูกที่ได้จากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศนั้นจะมีลักษณะอย่างไร

      จากข้อได้เปรียบนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะพัฒนากรรมวิธีในการทำโคลนนิ่งสำหรับนำมาใช้กับสิ่งมีชีวิตต่างๆ  เพื่อประโยชน์ของมนุษย์เอง

  ประเทศไทยสามารถทำโคลนนิ่งได้สำเร็จโดยศาสตราจารย์ มณีวรรณ  กมลพัฒนะ  ผู้อำนวยการโครงการนิวเคลียร์เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมกิจกรรมผสมเทียมโคนม และกระบือปลัก  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์  จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย  ได้เป็นคนแรก

  โดยการนำใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์มาผสมเทียมในกระบือ  และพัฒนาต่อเนื่องมากว่า20 ปี  จนประสบความสำเร็จในการโคลนนิ่งลูกโคตัวแรกของประเทสไทย  ชื่อว่า "อิง"ซึ่งถือว่าเป็นลูกโคโคลนนิ่งตัวแรกของประเทศไทยและเอเซียอาคเนย์ ซึ่งเป็นรายที่ 3  ของเอเซีย  และรายที่ 6  ของโลกโดยการทำโคลนนิ่งต่อจาดญี่ป่น  สหรัฐอเมริกา  ฝรั่งเศส  เยอรมันนี  และเกาหลี






ที่มา :  http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1047
           http://www.google.co.th/imgres?

พืชตัดต่อพันธุกรรม



GMOs คืออะไร

     ได้มีการนำเทคโนโลยีทางด้านพันธุวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อให้ได้พันธุ์พืชที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ โดยนำหน่วยพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งถ่ายเข้าไปรวมหรือร่วมอย่างถาวรกับหน่วยพันธุกรรมกับหน่วยพันธุกรรม ของพืชอีกชนิดหนึ่ง ทำให้สามารถแสดงลักษณะที่ไม่เคยมีอยู่ในธรรมชาติสำหรับพืชชนิดนั้น พืชชนิดนั้นจึงเรียกว่าเป็น พืชที่ได้รับตัดต่อสารพันธุกรรม (Genetically Modified Plants)

       ปัจจุบันมีพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมหลายชนิดที่เป็นที่ยอมรับและได้มีการปลูกเป็นการค้าในต่างประเทศหลายชนิด เช่น มะละกอ, ข้าวโพด, ฝ้าย และถั่วเหลือง เป็นต้น อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมดังกล่าวแล้ว ก่อให้เกิดความกังวลในหมู่สาธารณชนและนักวิชาการ ในการควบคุมภยันตรายซึ่งอาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้น กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมการนำเข้าพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมไว้ 40 ชนิด ดังนี้


ชนิดของพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมที่เป็นสิ่งต้องห้าม

1. ข้าว Oryza sativa L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
2. ข้าวโพด Zea mays L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
3. พืชในสกุลกอซซิเปียม Gossypium spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
4. พืชในสกุลลินั่ม Linum spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
5. ถั่วเหลือง Glycine max L. merr. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
6. พืชในสกุลฮีแลนธัส Helianthus spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
7. ผักกาดก้านขาว Brassica napus L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
8. มันฝรั่ง Solanum tuberosum L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
9. หน่อไม้ฝรั่ง Asparagus officinalis L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
10. แบลคเคอเร้น Ribes nigrum L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
11. พืชในสกุลบราสสิค่า Brassica spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
12. แครอท Daucus carota L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
13. กะหล่ำดอก Brassica oleracea var. botyrtis L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
14. ขึ้นฉ่าย Apium graveolens var. dulce (Mill.) pers. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
15. แตงกวา Cucumis sativus L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
16. มะเขือยาว Solanum melongena L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
17. พืชในสกุลวิตีส Vitis spp. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
18. กีวี Actinidia chinensis Planchon ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
19. ผักกาดหอม Lactuca sativa L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
20. แตงเทศ Cucumis melo L. ที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม





ที่มา : http://www.doae.go.th/library/html/detail/gmos/gmos.htm