วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีชีวภาพ


      การเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตของพืชให้มากขึ้น โดยการประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เพื่อประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่มนุษย์ต้องการ เรียกว่า เทคโนโลยีชีวภาพ  


การขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ และการเพิ่มผลผลิตของพืชโดยใช้เทคโนโลยี

เทคโนโลยีชีวภาพ ใช้เทคนิคต่าง ๆ ดังนี้
        1.การคัดเลือกพันธุ์และผสมพันธุ์   เพื่อให้ได้พืชที่มีลักษณะตามต้องการ เช่น การผสมละอองเรณุของทุเรียนหมอนทอกับเกสรตัวเมียของทุเรียนพันธุ์ชะนี   การผลิตแตงโมไร้เมล็ด
        2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือการนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชไม่ว่าเป็นอวัยวะ เนื้อเยื่อ เซลล์ หรือเซลล์ที่ไม่มีผนังที่เรียกว่า โพรโทพลาสต์ มาเลี้ยงอาหารวิทยาศาสตร์ในสภาพปลอดเชื้อจุลินทรีย์ และอยู่ในภาวะควบคุม อุณหภูมิ  แสง  ความชื้น ส่วนของพืชเหล่านี้จะสามารถเจริญเติบโตเกิดเป็นต้นใหม่ได้
        3. พันธุวิศวกรรม หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมด้วยการตัดต่อยีนและเปลี่ยนแปลงยีนในเซลล์ เพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตใหม่ที่มีสมบัติตามที่ต้องการ ซึ่งสิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีชื่อเรียกว่าสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมหรือ จีเอ็มโอ
      จีเอ็มโอ (GMOs) เป็นชื่อของ Genetically  Modified  Organisms หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม โดยอาศัยเทคนิคทางพันุกรรม ในบางกรณีมีการใช้คำว่า แอลเอ็มโอ (LMOs) ย่อมาจาก Living  Modified Organisms ทั้งจีเอ็มโอและแอลเอ็มโอมีความหมายคล้ายคลึงกัน แต่แอลเอ็มโอมุ่งเน้นความมีชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ในขณะที่ จีเอ็มโอรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในสภาพที่ไม่มีชีวิตด้วย เช่น อาหารจีเอ็มโอ


ผลเสียของจีเอ็มโอ
       เทคโนโลยีทุกอย่างที่มีประโยชน์ก็อาจมีโทษได้การพัฒนาและการใช้ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเท่าที่ควร ข้อเสีย คือมีความเสี่ยงและซับซ้อนในการจัดการ เช่น
        - อันตรายที่เกิดจากการที่พืชจีเอ็มโออาจผลิตสารก่อภูมิแพ้หรือสารอื่นที่มีสมบัติเป็นสารต้านการเจริญเติบโตของร่างกาย                                                                                                              
        - ความเป็นไปได้ที่แมลงศัตรูพืชอาจพัฒนาความต้านทานต่อสารพิษที่สร้างโดยพืชจีเอ็มโอ

ประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่                                                                                            
1. ด้านการเกษตรและอาหาร                                                                                                            
-  การปรับปรุงพันธุ์พืชให้ต้านทานโรคและแมลง                                                                      
-  การพัฒนาพันธืพืชให้มีคุณภาพผลผลิตดี                                                                                    
-  การพัฒนาพันธุ์พืชให้ผลิตสารพิเศษ                                                                                          
-  การพัฒนาพันธุ์สัตว์มีการพัฒนาพันธุ์โดยการถ่ายฝากยีนทั้งในปศุสัตว์และสัตว์น้ำ                
-  การพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ให้มีคุณลักษณะพิเศษบางอย่าง เช่น สามารถกำจัดคราบน้ำมัน
2. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข                                                                                                
-  การตรวจโรคเมื่อสามารถสังเคราะห์ชิ้นส่วนดีเอ็นโอ หรือยีนได้แล้วก็สามารถพัฒนาไปใช้ในการตรวจโรคต่าง ๆ ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ                                                                              
-  การพัฒนายารักษาโรคและวัคซีน                                                                                                
-  การสับเปลี่ยนยีนด้อยด้วยยีนดี
3. ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม                                                                                                    
-   พันธุกรรมอาจนำไปสู่การผลิตพืชที่ใช้ปุ๋ยน้อย น้ำน้อย ทำให้เป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมี เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและนำไปสู่การสร้างสมดุลทรัพยากรชีวภาพได้                                  
-  ใช้จุลินทรีย์ผลิตแอลกอฮอล์และแก๊สชีวภาพ   เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนพลังงานจากธรรมชาติ
4. ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม
-  เมื่อวัตถุดิบได้รับการปรับเปลี่ยนคุณภาพให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม โดยใช้พันธุวิศวกรรม อุตสาหกรรมใหม่ ๆ จะเกิดตามมามากมาย เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ

การเพิ่มผลผลิตของพืช
          การเพิ่มผลผลิตของพืชจะต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ สภาพของดิน ความชุ่มชื้น  และอุณหภูมิที่เหมาะสม นอกจากนี้ชนิของพืช วิธีการปลูก การอนุรักษ์ดินและน้ำ การป้องกันศัตรูพืชและกำจัดศัตรูพืช และการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช





ที่มา : http://www.sahavicha.com/?name=media&file=readmedia&id=2078

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น